ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่(Housetop)

ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่(Housetop)
สาเหตุของปัญหาหลังคารั่วซึมส่วนใหญ่มักเกิดมาจากการเสื่อมสภาพของวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการมุงหลังคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศที่รุนแรง ทั้งแดดร้อนและฝนตกหนัก ก็ยิ่งทำให้วัสดุและอุปกรณ์เหล่านั้นมีอายุการใช้งานที่สั้นลง  นอกจากนี้ขั้นตอนการมุงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไมถูกวิธีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหารั่วซึมได้เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นบ้านเก่าหรือบ้านใหม่ก็มีสิทธิ์พบเจอกับปัญหาหลังคารั่วซึมได้พอๆ กัน หลังคาบ้านของคุณมีอายุการใช้งานนานกว่า 15 - 20 ปีแล้ว ให้เปลี่ยนหลังคาใหม่ได้เลยทันที เพราะหลังคาอาจเก่าเกินกำลังที่ซ่อมแซมได้แล้ว ทั้งนี้การเปลี่ยนหลังคาใหม่นอกจากจะช่วยให้บ้านของคุณดูดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องบ้านของคุณจากสภาพอากาศต่าง ๆ ได้ด้วย หลังจากทราบวิธีตรวจเช็กหลังคาแล้ว อย่าลืมไปสังเกตหลังคาบ้านของคุณกันด้วย

1.หลังคารั่วจากโครงสร้างหลังคาแอ่นตัวหรือผุ การแอ่นหรือยุบตัวของหลังคามักจะเกิดจากการผุของโครงหลังคา ทำให้แผ่นกระเบื้องที่เคยเรียงตัวกันสนิทเผยอหรือกระเดิดขึ้นมา ส่งผลให้เมื่อมีฝนตกและลมแรง ก็จะเกิดน้ำไหลย้อนเข้าไปยังใต้หลังคา ช่องรั่วแบบนี้สามารถสังเกตตรวจสอบได้ง่ายๆ ในเวลากลางวันด้วยการมองหาช่องว่างที่แสงสามารถผ่านเข้ามายังใต้หลังคา แต่ถ้าหากหลังคามีการติดตั้งแผ่นฟอยล์สะท้อนความร้อนบังอยู่ ก็จำเป็นต้องตรวจสอบจากภายนอกโดยใช้บันไดปีนขึ้นไปเพื่อไล่ดูแนวขอบกระเบื้องไปทีละแถว เมื่อพบว่ามีกระเบื้องบริเวณใดยุบตัวลงก็ให้สังเกตหาสาเหตุของการยุบตัวซึ่งอาจจะเป็นที่ โครงหลังคาเหล็กถูกสนิมกินจน ผุ หรือโครงหลังคาไม้ถูกแมลงกินจนไม่สามารถรับน้ำหนักได้

สำหรับโครงหลังคาเหล็กที่เป็นสนิมสามารถแก้ไขด้วยการ ขัดสนิมออก ทาน้ำยาหยุดสนิมในบริเวณที่เกิดสนิม ใช้ค้ำยันดันเพื่อปรับระดับหลังคา จากนั้นซ่อมแซมด้วยการใช้แผ่นเหล็กหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตรประกบซ้าย-ขวา และเชื่อมให้เต็มรอยแผลประกบ
สำหรับโครงหลังคาไม้ก็ใช้วิธีการคล้ายๆ กันแต่ให้ตัดแปไม้ส่วนที่โดนแมลงเจาะทิ้งไป จากนั้นใช้แปไม้ขนาดเดียวกันประกบทั้ง 2 ด้านและยึดด้วยนอต-สกรู จากนั้นก็ทาด้วยน้ำยากันปลวกทับโดยรอบ

2.หลังคารั่วจากบริเวณครอบสันหลังคา สาเหตุของการรั่วซึมบริเวณครอบสันหลังคามักจะเกิดกับครอบสันหลังคาที่ใช้ปูนอุดใต้ครอบสันหลังคา เมื่อใช้งานไปปูนเหล่านี้มักจะแตกหรือหลุดล่อนเนื่องจากการยืดหดตัวของวัสดุซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นสาเหตุให้น้ำฝนสามารถรั่วซึมเข้าไปภายในได้

การแก้ไขทำได้ด้วยการใช้ปูนประเภทนอน-ชริงค์อุดรอยแตกร้าวให้เรียบร้อย และเคลือบทับด้วยน้ำยาเคมีภัณฑ์ประเภท อะคริลิกกันซึมชนิดยืดหยุ่น เพื่อเป็นฟิล์มกันน้ำอีกชั้น หลังจากนั้นก็ทาทับด้วยสีทากระเบื้องหลังคาเพื่อให้ดูเรียบร้อย

3.หลังคารั่วจากบริเวณ รางรับน้ำตะเข้ ทำหน้าที่รับน้ำบริเวณรอยต่อหลังคา (ไม่ใช่รางรับน้ำบริเวณชายคา) ซึ่งการรั่วซึมอาจเกิดจากเนื้อสังกะสีผุกร่อนไปตามกาลเวลา ยิ่งหากเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ริมทะเลก็จะยิ่งผุเร็วขึ้น หรืออาจเกิดจากระยะของปีกรางสั้นเกินไปทำให้เมื่อฝนตกหนักและลมแรงก็จะทำให้น้ำไหลย้อยเข้าไปได้

หากรางน้ำผุแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนรางน้ำใหม่เป็นรางน้ำสำเร็จรูปซึ่งมีขายอยู่ตามท้องตลาด หรือใช้สังกะสีเบอร์ 28 ทาด้วยสีกันสนิม 2 รอบ หรือแผ่นสแตนเลส พับขึ้นรูปเป็นรางน้ำก็ได้
หากระยะของปีกรางสั้นเกินไปก็ให้เปลี่ยนใหม่ โดยรางควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ลึกไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร และมีส่วนของปีกรางยื่นลึกเข้าไปใต้กระเบื้องข้างละไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร

4.หลังคารั่วจากการติดตั้งเสาอากาศทีวีบนหลังคา สาเหตุมักจะเกิดจากความต้องการติดตั้งเสาอากาศทีวีให้สูงๆ จึงจำเป็นต้องใช้ลวดสลิงในการรับแรง 3-4 ด้านเพื่อต้านกระแสลม แต่ละเส้นจะโยงจากเสาอากาศมาเกี่ยวกับชายกระเบื้อง ซึ่งหากมุงกระเบื้องไว้ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ขันสกรูหรือผูกลวดยึดกระเบื้องไว้กับแป เมื่อเกิดลมพัดแรง ก็จะทำให้ชายกระเบื้องเผยอและเกิดการรั่วซึม วิธีแก้ไขคือต้องปลดลวดสลิงและลดเสาอากาศลง จากนั้นจึงจัดแนวกระเบื้องใหม่ยึดกระเบื้องไว้กับแปด้วยสกรูหรือลวด จากนั้นจึงค่อยตั้งเสาอากาศและยึดด้วยลวดสลิงอีกครั้ง

แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องตั้งนั่งร้านเพื่อทำการซ่อมแซมก็อย่าเสียดายแม้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นก็ตาม เพราะถือว่าเป็นการป้องกันไว้ดีกว่าแก้ครับ เรื่องของการปรับปรุงหลังคายังไม่จบนะครับติดตามเรื่องราวของการซ่อมบำรุงหลังคาต่อได้ที่นี่ในไม่ช้าครับ
หากเป็นหลังคาแบบกระเบื้องจะมีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน แต่อาจต้องหมั่นตรวจสอบรอยแตกร้าวกันสักหน่อย สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลบ้านอาจใช้หลังคาแบบเมทัลชีทหรือคอนกรีต เพราะไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามาก และมีอายุการใช้งานนานกว่าสองแบบแรก
ทีนี้เราลองมาดูกันว่าปัจจัยที่ทำให้คุณควรเปลี่ยนหลังคา มีอะไรบ้าง  
http://www.youtube.com/watch?v=V2Oqdm5PtfQ 
  
1. เมื่อพบว่าท้องหลังคาภายในบ้านของคุณมีรอยบุ๋ม หรือท้องหลังคาหย่อนคล้อยลงมา เพราะโดยปกติแล้วท้องหลังคาควรเรียบเสมอกันทั้งหมด        
2. ในกรณีที่พบว่าหลังคามีรอยน้ำรั่ว หรือมีรูเล็ก ๆ ที่แสงสามารถส่องผ่านลงมายังภายในบ้านของคุณได้ หรือสีผิดปกติไปจากสีเดิมของวัสดุ    
4. พบเห็นรอยแตกร้าว มีรอยเลื่อนบนหลังคา หรือมชิ้นส่วนในการประกอบหลังคาหายไป      
5. พบชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบหลังคาตกหล่น อยู่ในท่อน้ำ ช่องลม หรือบริเวณอื่น ๆ ของบ้าน      
6. มีเศษซากของหลังคาบางส่วนตกหล่นลงมา หรือมีบางส่วนของหลังคาหลุดลอกออกมา    
7. หมั่นสังเกตรอยด่างดำ เศษซากสกปรกต่าง ๆ เพราะนั่นแสดงว่าหลังคาของคุณเกิดรอยรั่วที่ทำให้น้ำสามารถแทรกซึมเข้าไปได้ สิ่งที่มากับน้ำนอกจากความชื้นแล้วคือ เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ ที่สามารถก่อตัวได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมงเท่านั้น    
8. ตรวจสอบระบบการระบายน้ำของหลังคา ว่าทางระบายน้ำอยู่สภาพปกติหรือไม่ เพราะเศษซากแตกหักของทางระบายน้ำ อาจทำให้หลังคาเกิดรอยแตกหัก หรือรอยรั่วได้
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manman

รายการบล็อกของฉัน

ป้ายกำกับ

10 วิธีนอนหลับสบาย (1) 20 ไอเดียแต่งบ้านราคาประหยัด (1) 5 เคล็ดตรวจสอบแบบก่อนซื้อบ้าน (1) 5 ป ของคอนโดแต่งเสร็จ (2) 6 ไอเดียกว้างในบ้านแคบ (1) 7 ลักษณะบ้านอยู่แล้วจน (1) 8 องค์ประกอบ เพื่อเนรมิตบ้านให้น่าอยู่ (1) 9 วิธีแต่งบ้านคลายร้อน (1) 9 วิธีแห่งการรักษาความปลอดภัย "ป้องกันขโมยขึ้นบ้าน" (1) กฏหมายว่าด้วยรั้วบ้าน (1) กระจกวอลเปเปอร์ ...ศิลปะที่คุณสร้างสรรค์ได้... (1) กระเบื้อง (1) กระสอบทราย (1) การกำจัดปลวกแบบประหยัดค่ะ (1) การจัดวางบ้านให้ถูกต้องเหมาะสม (1) การใช้น้ำ (1) การตกแต่งห้องนอน (1) การทาสีบ้านเสริมฮวงจุ้ย (2) การบริหารหมู่บ้านตามกฎหมายจัดสรรใหม (1) การปลูกต้นไม้ตามทิศ (1) การเลือกซื้อบ้าน-คอนโดฯ ให้ถูกหลักฮวงจุ้ย (1) การเลือกพันธุ์ไม้ (1) กำจัด (1) เกร็ดควรรู้ก่อนทำห้องครัว (1) เกร็ดความรู้ (1) ของแต่งบ้านให้โชค (1) ข้อห้ามเกี่ยวกับบ้าน (1) ข้อห้ามของเคหะศาสตร์ (1) คลายร้อน (1) คลายร้อนให้บ้าน (1) ความเชื่อในการจัดฮวงจุ้ยบ้าน (1) ความลับ (1) เคล็ดไม่ลับ (1) เคล็ด(ไม่)ลับการตกแต่งห้องให้ดูกว้างขึ้น (1) เคล็ดลับ (1) เคล็ดลับการดูแลรักษาขวดแก้ว (1) เคล็ดเสริมดวงให้โชคดี (1) เคล็ดฮวงจุ้ย ที่พบได้ทั่วไป (1) โครงสร้าง (1) จอมปลวก (1) จัดตุ้ปลาเสริมฮวงจุ้ย (1) จัดสวนสวยด้วย หิน นานาชนิด (1) จัดสวนสวย..เสริมฮวงจุ้ยบ้าน (1) จัดสวนหย่อมภายในบ้าน (1) จัดแสงสีให้สวนสวย (1) จัด ห้องนอน เพิ่มความเร่าร้อนให้ชีวิตรัก (1) จีน (1) เจ้าของบ้าน (1) ฉีกรูปแบบตกแต่งภายใน ด้วยกระเบื้องลายผ้าไทย (1) ใช้โทนสีธรรมชาติ แต่งห้องนั่งเล่นให้อบอุ่น (1) ซื้อบ้านมือสอง (1) ดอกไม้ (1) ได้อย่างไร (1) ต้นไม้ (1) ต้นไม้กับความเชื่อ (1) ต้นไม้กับบ้าน เรื่องร้าย ๆ ก็มีเหมือนกัน (1) ต้นไม้ดูดสารพิษ (1) ต้นไม้ต้องห้าม (1) ต่อรองราคาได้ (1) ตึก (1) เติมความสดชื่น (1) แต่งสวนในห้องน้ำ (1) แต่งห้องเด็กรับเปิดเทอม (1) แต่งห้องตามบุคลิก (1) ถมดิน (1) ทำสปาแบบง่ายๆ ที่บ้านคุณ (1) ทิศที่ดีในการปลุกต้นไม้ (1) เทคนิคซ่อมบ้าน..ที่แม่บ้านก็ทำได้ (1) เทคโนโลยี Smart Home เติมความอัจฉริยะให้บ้านยุคใหม่ (1) นกพิราบสัตว์เลี้ยงมหัศจรรย์ (1) น่ากลัว (1) นางฟ้าน้อยๆ บนสวรรค์ในบ้าน เปลี่ยนห้องให้สดใส ด้วยการเพนต์สี (1) ในเวลา 19 วัน (1) บทความเรื่องต้นไม้ช่วยลดความร้อนในบ้าน (1) บัญญัติ10ประการการประหยัดน้ำ (1) บันไดเรือนไทยมีความเชื่อ (1) บ้าน (3) บ้านดินพิมพ์สามมิติ (1) บ้านเดี่ยวแบบชั้นเดียว (1) บ้านที่ผีชอบอยู่ (2) บ้านมีความหมายต่อชีวิต (1) บ้านมือ2 (1) บ้านไม้ไผ่ (1) บ้านสวย : ห้องเล็ก (1) บ้านใหม่ ตามหลักฮวงจุ้ย (1) บ้านให้เย็นลง (1) ใบชากำจัดกลิ่นในไมโครเวฟ (1) โผล่ขึ้นมาจากคอห่านส้วม (1) พรรณไม้ไทยมงคล (1) พลังงานแสงอาทิตย์ (1) พันธุ์ต้นไม้ (1) ฟองน้ำ (1) มะละกอสำหรับตำส้มตำ ทำอย่างไรให้กรอบอร่อยไม่นิ่มเละ (1) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ (1) มาอ่านเรื่องบ้านมือ2สยองๆ (1) แมลง (1) ระดับดินที่เหมาะสม (1) ระบบปรับอากาศ (1) รูปแบบการซื้อขายบ้านมือสอง (1) โรงแรมต้นไม้ (1) ฤดูใบไม้ร่วง (2) ลดอุณหภูมิ (1) วันหยุด (2) วัสดุในพื้นที่ (1) วิทยาศาสตร์ (1) วิธีการกำจัดแมงสาบแบบบ้าน ๆ วิธีที่2(เน้นประหยัดและง่าย) (1) วิธีการย่างปลาดุกให้เก็บไว้ได้นานกรอบอร่อย (1) วิธีจัดห้องรับแขก ตามหลักฮวงจุ้ย (1) วิธีใช้คอมพิวเตอร์ไม่ให้กินไฟ (1) วิธีทำบ้านให้น่าอยู่ (1) วิธีป้องกันบ้านจากหัวขโมย 5 แบบ (1) วิธีเลือกกระเบื้องปูพื้นห้องน้ำ (1) วิธีไล่จิ้กจกตุ๊กแกในบ้าน (1) วิธีอยู่กับเพื่อนร่วมบ้าน ที่ไม่เป็นมิตร (1) สกูตเตอร์ (2) สดชื่น (1) สบู่ในห้องน้ำสาธารณะ...ใครว่าไม่สำคัญ (1) สปา (1) สภาพแวดล้อม (1) สร้างตึกสูง 57 ชั้น (1) สวน (1) สวน กับดุลยภาพแห่งพลังชีวิต ฮวยจุ้ยกับทิศหน้า... (1) "สวน" กับดุลยภาพแห่งพลังชีวิต "ฮวยจุ้ย" กับทิศหน้าบ้าน (1) ส้วม (1) สวีเดน (1) สะอาดบ้าน (1) สัตว์เลี้ยงมงคล (1) สารตะกั่ว (1) สาระน่ารู้ เรื่องจอดรถขวางประตูบ้าน (1) สิ่งมีชีวิต (1) สิทธิของผู้ให้เช่าที่ควรรู้ (1) สี (1) สีของบ้าน ตามโฉลกและเลขวันเกิด (1) สีทาอาคาร (1) สีน้ำมัน - หญิงมีครรภ์ (1) แสงเหนือ (1) หนุ่มญี่ปุ่น (1) หมู่บ้าน (1) หมู่บ้านที่ใช้ชีวิตอยู่บนกองขยะ. (1) หมู่บ้านโบราณ (1) หมู่บ้านร้างหลอนที่ใหญ่ที่สุด (1) หลักปัจจัยการพิจารณาทำเลปลูกบ้าน (1) หลักพื้นฐานของบ้านน่าอยู่ (1) หลังคาบ้าน (1) ห้องครัวสุขภาพดี (1) ห้องจัดเลี้ยง (1) ห้องน้ำ (1) ห้องน้ำที่ถูกหลักฮวงจุ้ย (1) "ห้องน้ำ" ห้ามอยู่กลางบ้าน (1) ห้องรับแขก (1) อยู่บ้านว่างๆลองมาปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (1) อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคสัตว์เลี้ยงสู่คน? (1) อากาศที่บริสุทธิ์ในบ้าน (1) อากาศเย็น (1) อาคาร (1) อิตาลี่ (1) ฮวงจุ้ย (1) ฮวงจุ้ย บ้านยากจน (1) ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อการนอนหลับฝันดี (1) โฮมออฟฟิศ (1) Acaricide (1) Batsto (1) combed cotton (1) home (1) Housetop (1) Huaxi Village (1) lavatory (1) polyester (1) Refrigerator (1) self-cleaning (1) smilehomes (1) Tannic acid (1) toilet (1) UV Protection (1) WORKING with color (1) WORKING with color จิตวิทยาสีในการตกแต่ง (1)